Toyota Tsusho Forklift และ Toyota Material Handling Thailand ส่งมอบรถยก Fuel Cell คันแรกของประเทศไทยให้กับ Siam Toyota Manufacturing

    คณะผู้บริหารและพนักงานของ บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด, บริษัทโตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง(ประเทศไทย) จำกัด
    และบริษัท โตโยต้า ทูโช ฟอร์คลิฟท์ (ไทยแลนด์) จำกัดถ่ายถาพร่วมกันโดยมีคุณวิรยศ พฤทธากรวงศ์กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด (คนกลาง) คุณ Shigeru Matsumotoกรรมการผู้จัดการ บริษัทโตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง(ประเทศไทย) (คนแรกด้านขวานับจากกลาง), คุณ Hiroshi Mukaiประธานบริษัท โตโยต้า ทูโช ฟอร์คลิฟท์ (ไทยแลนด์) (คนที่สองด้านซ้ายนับจากกลาง)และทีมงานของทั้งสามบริษัทฯ เพื่อเป็นเกียรติในการส่งมอบรถยก Fuel Cell คันแรกของประเทศไทย
    ณ ขณะนี้ มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและประเด็นต่าง ๆ เช่น SDGs และความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ carbon neutrality กำลังถูกเรียกร้องไปทั่วโลก และกำลังได้รับความสนใจในประเทศไทยมีบริษัทจำนวนมากในไทยตอบรับเพื่อดำเนินมาตรการนี้ดังเช่นบริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด เล็งเห็นถึงความสำคัญของการลดการปล่อยมลพิษ หรือ zero emissions โดยใช้รถยก Fuel Cell ที่ใช้พลังงานจากไฮโดรเจนที่ไม่ทำให้เกิดมลภาวะ
    และทางบริษัท โตโยต้า ทูโช ฟอร์คลิฟท์ และบริษัท โตโยต้า แมททีเรียล แฮนด์ลิ่ง ประเทศไทย ภูมิใจนำเสนอรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อสนับสนุนและเป็นสื่อกลางเกี่ยวกับกิจกรรมที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์
    ในแง่ของอุตสาหกรรมการอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า นี่ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของเรา เนื่องจาก Toyota Industries ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถฟอร์คลิฟท์ได้มีพยายามทำให้อุตสาหกรรมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การผลิตและจำหน่ายรถยกไฟฟ้ามาเป็นเวลากว่า 60 ปี เพื่อให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาคาร์บอนดังกล่าวให้ดีขึ้น เราตระหนักว่าเราสามารถก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและ SDGs ได้มากขึ้นโดยการพัฒนารถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสีเขียวและโลกที่ดีขึ้น
    เราได้พัฒนารถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้ามากว่า 60 ปี ตั้งแต่ปี 1964 ซึ่งรุ่นปัจจุบันคือซีรีส์ 8 ซึ่งผลิตและพัฒนาครั้งแรกในปี 2016สำหรับรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell เราก็ได้ใช้ซีรีส์ 8 เหมือนกับรถฟอร์คลิฟท์ไฟฟ้า ในปี 2016 เราได้เริ่มขายรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell ในญี่ปุ่นและมียอดขายมากกว่า 350 คันเพื่อมุ่งสู่สังคมปลอดคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรม อีกทั้งรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell ไม่จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาเป็นพิเศษและไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเทียบกับรถฟอร์คลิฟท์เครื่องยนต์หรือไฟฟ้า
    ขั้นตอนการผลิตพลังงานของรถ Fuel cell

  1. รถยกของ TOYOTA ใช้ Fuel Cell Stack แบบเดียวกับรถยนต์โตโยต้ารุ่น Mirai แต่ Fuel cell unit นั้นต่างกัน เนื่องจากได้รับการพัฒนาโดยเทคโนโลยีของ Toyota Industries Corporation ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อขนถ่ายสินค้า
  2. พลังงานของรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell คือ ไฮโดรเจน ซึ่งบรรจุลงในถังประมาณ 1.2 กก. ที่ความดันสูงสุด 35 เมกกะปาสคาล
  3. Fuel cell เป็นอุปกรณ์ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าผ่านปฏิกิริยาเคมีที่รวมกันระหว่างไฮโดรเจนและออกซิเจนที่มาจาก air compressor เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า
  4. ในระหว่างปฏิกิริยาเคมีนี้ พลังงานไฟฟ้าจะถูกปลดปล่อยไปยังอุปกรณ์จัดเก็บพลังงานเพื่อจ่ายให้กับ
    มอเตอร์ขับเคลื่อนสำหรับเดินหน้า-ถอยหลัง
    มอเตอร์ปั๊มสำหรับยกและเอียงเสา

  5. ในสถานการณ์ฉุกเฉิน รถรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell สามารถเป็นแหล่งจ่ายไฟ AC 100V สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟ 1kW สามารถใช้ได้ 15 ชั่วโมง เช่น ไฟในคลังสินค้า
    รายละเอียดของระบบ Fuel Cell

  1. รถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell ใช้ไฟฟ้าในการทำงานโดยแหล่งผลิตไฟฟ้าคือ “ไฮโดรเจน”
  2. ตัว Fuel cell นั้นคล้ายกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือ generator โดยกระแสไฟฟ้าจะถูกสร้างขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยการเปลี่ยนไฮโดรเจนเป็นพลังงานโดยไม่ต้องชาร์จใหม่เหมือนกับรถฟอร์คลิฟท์แบตเตอรี่
  3. แต่ในส่วนของรถฟอร์คลิฟท์เครื่องยนต์จะเป็นการเปลี่ยนพลังงานเคมีเป็นพลังงานกลเพื่อให้รถยกนั้นทำงานได้ โดยเราเรียกเครื่องยนต์แบบนี้ว่าเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือ Internal Combustion Engine ซึ่งแตกต่างกันกับรถฟอร์คลิฟท์ Fuel cell อย่างสิ้นเชิง

ผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ